เมื่อเวลาราว 10.30 น. ณ ทำเนียบขาว ในกรุงวอชิงตัน หลังการเสียงไชโยของประชาชนชาวสหรัฐอเมริกา หลังการแถลงข่าวด้วยสีหน้าขึงขัง น้ำหนักทุ้มด้วยความมั่นใจของผู้นำโลกอย่าง บารัค โอบามา แถลงให้โลกใบนี้ทราบว่า บิน ลาเดน ผู้นำกลุ่มก่อการร้ายอัลเคดาตาย คำถามหลังจากนี้ก็คือมันสะท้อนอะไรบ้าง นับจากนี้โฉมหน้าของโลกจะเป็นอย่างไร ....
กระทั่งคำถามใหญ่ก็คือว่า คำสั่งจับตายของเจ้าของรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพเหมาะสมหรือไม่ แล้วบทเรียนในครั้งนี้ประเทศไทยจะหยิบฉวยอะไรได้ไหม เหนืออื่นใดภาพใบหน้าบินลาเดนที่เต็มไปด้วยเลือด ถูกนำออกมาเผยแพร่กันมากมาย ซึ่งอ้างกันว่าเป็นภาพที่ถูกตัดต่อขึ้นมาสอดคล้องว่า ยังมีการอ้างว่าต้องจัดการศพอย่างรวดเร็วภายในระยะ 24 ชั่วโมงหลังเสียชีวิตนั้น เป็นไปตามหลักศาสนาอิสลาม และกรณีที่เลือกสถานที่เป็นทะเลนั้น เพราะไม่มีประเทศใดยอมรับ และเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดประเด็นของสถานที่ ดูลับๆ ล่อๆ ชอบกล
ไทยรัฐออนไลน์สอบถามไปยังเรื่องภาพการตายของบินลาเดนตามสื่อต่างประเทศ ผศ.ดร.ชวาล คูร์พิพัฒน์อาจารย์ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางภาพถ่ายและเทคโนโลยีทางการพิมพ์ หลังจากเข้ากระบวนการตรวจสอบอย่างละเอียดถี่ถ้วน สรุปผลลัพธ์การตรวจสอบว่า ภาพบิน ลาเดนที่เผยแพร่ตามสื่อต่างประเทศนั้นเป็นภาพที่ตัดต่อ 100 % ฟันธง
“ข้อสังเกตข้อที่ 1.คือชัดเจนเอาเรื่องเคราบินลาเดน จะเห็นว่าที่ตัวภาพมันมีแสงเงาอยู่(สังเกตตรงเนื้อบริเวณหัวไหล่ของเขาจะมีเงาอยู่ด้วย) อย่างไรก็ดีแต่ความเบลอมันเกิดจากการคัทแล้วมาวางแล้วพร้อมกับทำซอฟท์ๆ เบลอโดยโฟโต้ช็อป เมื่อเทียบรูปเครากับความคมชัดเนื้อตรงไหล่ไม่ใช่แล้วรูปที่เป็นต้นฉบับ 2.บริเวณหน้าแผนที่ใบหน้าของบินลาเดน พิกเซลมันมีความคมชัดมากกว่า ที่จมูกที่ปาก ที่เครา ทั้งนี้ถ้ามันเป็นรูปเดียวกัน หากเบลอมันต้องเบลอเท่ากัน ถ้ามันคมมันต้องคมเท่ากัน ดังนั้นรูปนี้จึงเกิดจากการเอาแผลมาแป๊ะ ทับลงไป คนทำค่อนข้างปรับความสว่างได้ค่อนข้างดี ก็ใกล้เคียงกันมาก ในเรื่องความพิกเซลความคมละเอียดความคมชัดค่อนข้างชัดเจนว่าตัดต่อ 100 %ส่วนจะตั้งใจทำขึ้นมาเพื่อเป็นภาพประกอบการเสียชีวิตหรือไม่นั่นอีกเรื่องหนึ่ง” ผู้เชี่ยวชาญกล่าวฟันธง
นอกจากนี้ สำนักข่าวต่างประเทศจับผิดตรงกับผู้เชี่ยวชาญในประเทศไทยว่า รูปการแสดงสีหน้า และเคราเชื่อได้ว่าน่าจะเป็นรูปภาพของบินลาดินในปี 1998 ซึ่งเป็นรูปศพที่เราเห็นกันทางสื่อต่างๆ โดยมีความละเอียดดั้งเดิมคือ 197x263 พิกเซลส์ จะเห็นได้ว่ามีความคล้ายคลึงกันอย่างมาก ขณะที่รูปภาพที่สามเป็นการผสมผสานระหว่าง 2 ภาพแรก โดยให้ภาพศพมีความทึบ 100% ส่วนภาพปกติของบินลาดินนั้นมีความทึบ 43% ซึ่งภาพทั้งสองนั้นตรงล็อกกันพอดิบพอดี ทั้งปาก เครา และจมูก บ่งชี้ชัดเจนว่าเป็นภาพปลอมที่ทำขึ้นอย่างไม่แนบเนียนเลย
ฉายภาพโลกหลังจากบินลาเดนตายดีจริงหรือ...?
ขณะเดียวกัน ดร.เจษฎ์ โทณะวณิก ผู้อำนวยการมหาบัณฑิตนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม และผู้เชี่ยวชาญเรื่องต่างประเทศวิเคราะห์ผ่านไทยรัฐออนไลน์โลกหลังสหรัฐอเมริกาประกาศอย่างเป็นทางการว่า บินลาเดนตายว่าการตายของผู้นำอัฟกานิสถานสะท้อน 3 สิ่ง1.สะท้อนว่า “จักรวรรดิอเมริกัน” ยังถือว่าเข้มแข็งพอใช้ได้เพราะว่าในบรรดาคนที่เขาหมายหัวเอาไว้เช่น ซัดดัม หรือ บินลาเดน เขาสามารถดำเนินการได้ ไม่ว่าจะโดยใช้กระบวนการยุติธรรม หรือ ใช้รูปแบบลักษณะของการ สืบเสาะ ติดตาม ไล่ล่า ได้จริง 2.อาจะไม่ใช่จักรวรรดิอเมริกัน เข้มแข็ง สืบเสาะ ไล่ล่าเก่ง จนกระทั่งทำให้จนมุม
มันสะท้อนว่าบรรดาผู้นำที่เป็นเผด็จการทั้งหลายมันมีวันร่วงโรย เมื่อทดถอยถึงระดับหนึ่งบรรดาสิ่งต่างๆที่เคยมีในยุครุ่งเรือง มันจะหายไปหมด ผู้ติดตามอารักขา อาวุธยุทโธปกรณ์ ความพร้อมสรรพในการระวังตัว เหล่านี้ลดลงหมดไม่เหมือนตอนในยุคที่คุณรุ่งเรืองมันเป็นสัจธรรมและข้อสุดท้ายมันสะท้อนว่าการห้ำหั่นกันระหว่างประเทศมีอยู่เสมอๆ ที่สำคัญ ณ วันนี้มันทำให้เรารู้ว่ายังมีการสร้างภาพของคนดีกับคนเลว วีระบุรุษ คนร้ายเสมอๆ
“จริงๆ หากจะพูดกันตามความจริง เราไม่อาจจะรู้ได้หรอกว่า บินลาเดน ไปวางระเบิดที่นั่นที่นี่ ให้คนบินไปชนตึกเวิร์ลเทรดเมื่อ 11 กันยาแท้จริงหรือไม่เพราะว่าใครก็รับสมอ้างพูดได้ เช่น นาย ก. อยู่ดีวิ่งไปฆ่า นายข.และบอกว่า นายค.จ้าง แล้ว นายค.ไม่เคยปรากฏตัว จึงไม่สามารถรู้ได้หรอกว่า นายค. หรือนายง.มีตัวตนเป็นคนว่าจ้างจริงหรือไม่ อย่างไรก็ดี มันมีภาพนี้ปรากฏทางฝั่งของตะวันออกกลางก็กำหนดอเมริกาเป็นตัวร้ายอเมริกา ก็กำหนดตะวันออกกลางเป็นตัวร้าย แต่ว่าการกำหนดในลักษณะนี้ มันเป็นการดึงเอาคนในโลก บรรดามีเข้าเป็นพวกลักษณะมันไม่ต่างไปจากไทย-กัมพูชาเลย เพียงแต่ว่าการไลล่า อาวุธยุทโธปกรณ์ และแสนยานุภาพต่างๆ อาจจะแนบเนียนกว่า ซึ่งถ้ายังมีเรื่องเช่นนี้มันจะไม่ทำให้โลกสงบหรอก เราไมรู้หรอกวันหนึ่งมันจะวิ่งไปสู่ที่ใดถ้ามันไม่ยุติ เพราะไม่มีการพูดคุย”
จากบิน ลาเดน ถึง ไทยบทเรียนล้ำค่า
ทั้งนี้ บทเรียนตั้งแต่การไล่ล่าของสหรัฐ นำมาสู่การสู้รบของ 2 ขั้นอำนาจ จนถึงขั้นมีการสูญเสียชีวิตบินลาเดน เป็นระยะเวลานานกว่า 10ปี ไม่ใช่เพียงติดตามข่าวการสูญเสีย เพราะหลายสิ่งที่เกิดขึ้นประเทศไทยน่าจะนำมาดูเพื่อเป็นบทเรียนสอนใจไม่ให้ไปถึงจุดนั้นได้
“ผมคิดว่าเรื่องแบบนี้ ถ้าเกิดขึ้นระหว่างเพื่อนบ้านมันต่างกับการเกิดขึ้นระหว่างคนที่อยู่กับคนละทวีปโลก อเมริกา อัฟกานิสถานมันอยู่คนละที่ทาง การเสียดสีมันก้เป็นได้ยาก ต่างคนต่างก็ต้องส่งคนเข้าไปในประเทศอีกฝ่าย ต้องใช้ทรัพยากรพอสมควร เรื่องนี้ทำให้ผมนึกถึงเรื่องประเทศไทยกัมพูชาผมคิดว่ามันเกิดลักษณะใกล้กันมาก และอยู่เสียดสีกันมากกว่า เพราะฉะนั้นต้องระวังว่าอย่าให้เป็นแบบเขา อย่าให้ถึงกับตามล่า แล้วก็ทำลักษณะวิธีกำหนดตัวคนดีคนเลวแล้วไปหากพวกมา เราต้องดูการต่อสู้ของทั้ง 2 ขั้วอำนาจและนำมาเป็นบทเรียน”
ถามว่าหลังจากบินลาดินเสียชีวิต โลกจะเปลี่ยนแปลงโฉมหน้าไปไหม ผู้เชี่ยวชาญชื่อดังกล่าวว่า โลกจะเปลี่ยนไปใน 2 มุม
“1.บรรดาผู้ก่อการร้ายจะต้องระมัดระวังว่าพวกนี้มันอัดเราเอาเราได้จริง ดังนั้นถ้าใครจะมาประกาศว่าเป็นผู้ก่อการร้าย คิดว่าตัวเองเก่งอาจจะต้องคิดใหม่เพราะคนที่เก่งก็โดนสอยไปหมดแล้ว เหล่ามารร้ายไม่กล้าผยอง 2. พวกมาร้ายก็แค้นและจ้องจะเอาคืน คราวนี้เล่นหนักแก้แค้นไม่เลือกหน้าเลยผู้บริสุทธิ์ก็นะโดน ถามว่าน้ำหนักส่วนไหนมากกว่ากัน ผมมองว่าเป็นเรื่องแรกเพราะผมคิดว่าไก่ป่วยอยู่ดีๆ จะกระโดดจิกก็กระไรอยู่ แต่ในอีกระยะหนึ่งเมื่อเขาบ่มตัวและเปลี่ยนยุทธวิธีได้แล้ว โลกต้องระวัง ดังนั้นผู้ชนะจะผยองไม่ได้ เพราะว่าผู้แพ้มีสิทธิกลับมาได้เสมอ”
เมื่อถามย้ำว่ามีผลต่อภาพลักษณ์ของผู้นำอเมริกา เจ้าของรางวัลโนเบล สาขาสันติภาพไหม นักวิชาการชื่อดังบอกว่า บางทีการธำรงสันติภาพมันมองได้ 2 แนว 1.ใช้วิธีอหิสา สงบนิ่ง คุยกัน พาไปสู่สันติภาพ หรือ 2.ใช้ความรุนแรงไปสู่สันติภาพ ถ้ามีใครสักคนที่สร้างความไม่สงบเราก็จัดการคนที่ทำความไม่สงบนี้มันก็เกิดความสงบ ดังนั้นสันติภาพมันมา 2 ทาง ถ้าเป็นแบบนั้นคงอะลุ้มอล่วยได้ แต่ถ้าคิดว่าสันติภาพต้องเริ่มต้นด้วยความไม่รุนแรงและจบแบบไม่รุนแรง โอบามาก็ไม่ควรจะได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ เพราะว่าโอบามา เขาแตกต่างหลายๆ คนที่ใชวิธีอหิงสาเสมอ ใช้ระยะเวลาอันยาวนาน
“เพราะไม่ว่าจะเป็นคานธี, อองซาน ซูจี, ดาไลลามะ แต่คานธีก็ไม่มีกองกำลังไปจัดการกับอังกฤษ ซูจีก็ไม่มีกองกำลังไปจัดการกับทหารพม่า โอบามาก็อาจจะบอกว่าคนไม่มีแต่จะบอกว่าไม่ใช่ก็กระไรอยู่นะ ถ้ามองเป็น 2 แนว คือสันติภาพเกิดขึ้นจากการระงับความรุนแรงโดยใช้ความสงบตั้งแต่แรก มันก็เขาก็สามารถรับได้อยู่”
ทั้งนี้ หากย้อนกลับไปโอบามาจะประกาศว่าเขาสั่งการเอง เราควรจะยึดรางวัลโนเบลสาขาสันติดภาพคืนผมคิดว่าไม่ ถ้าพูดในลักษณะ ถ้าเป็นความดีใจ หรือว่าฮึกเหิมว่าสามารถฆ่าบินลาเดนได้ ผมว่าไม่ใช่สันติภาพ มันเป็นการห่ำหั่นแล้วเป็นการแพ้ชนะ จริงๆ เขาควรจะพูดว่า ผมเสียใจที่บินลาเดนจะต้องมาตายแบบนี้และเราไม่อยากฆ่าอะไรใครหรอก แต่มันมีความจำเป็น เพราะถ้าเราจะฆ่างูเราจะต้องเด็ดหัว เวลาที่เราจะจับโจรเราก็ต้องจัดการหัวหน้าโจร มันเป็นความจำเป็น
“ถ้าหากอเมริกันต้องการธำรงสันติภาพของโลก ต้องกล่าวว่าทั้งตนและประเทศรู้สึกเสียใจ กับการที่จะต้องมีเหตุการณ์เช่นนี้แล้วไม่อยากให้มีเหตุการณ์ขึ้นในโลกอีก เพราะว่าการธำรงและรักษาสันติภาพมันต้องเริ่มด้วยสันติ จบลงแบบนั้น เริ่มด้วยความสงบ และจบลงด้วยความปรองดองแต่ถ้ามีดีใจมากแบบที่ทำกันอยู่ แสดงอารมณ์ให้รู้ว่าเถอะว่าใครที่ตั้งตนเป็นปฏิปักษ์กับความดี ตั้งตนปฏิปักษ์กับคุณธรรม พวกเราพร้อมที่จะกำจัดมัน แล้วก็อเมริกาก็ตั้งตัวเป็นคุณธรรม เวลาที่เราบอกว่า เราเป็นจอมยุทธ ใครตั้งคุณนอกจากคุณจะบอกตัวเอง อย่างนี้ไม่ได้ อเมริกามองผลประโยชน์เป็นหลัก ถ้าใครมีผลประโยชน์เขาก็จะจัดการกับประเทศนั้นก่อน พูดกันตรงไปตรงมาพม่าไม่ใช่ดินแดนแห่งผลประโยชน์เทียบกันแล้ว กองกำลังอิรักกับกองกำลังพม่า อันไหนจะแข็งแข็งกว่ากัน ถ้าอเมริกาจะธำรงสันติในพม่าแบบเดียว”
มากกว่าดอกส้มสีทอง ละครฉากหนึ่งของหนังฮอลลีวูด
สุดท้าย สิ่งที่ประชาชนจะเท่าทันก็คือ ให้ดูเหตุการณ์นี้เป็นละครฉากหนึ่งของโลกเท่านั้น
“ผมคิดว่าไม่มันอาจจะไม่เหมือนกับละครน้ำเน่าเหมือนกับหนังฮอลลีวูด มันจะมีการสถาปนาคนดี-เลว เหมือนพวกหนังอเมริกัน ทั้งหลายตั้งสร้างไอดอลขึ้นมาแล้วก็บอกว่ากูเจ๋ง แต่คนอื่นเลว เพื่อนสร้างจักรวรรดิ และกระจายกำลังจักรวรรดิออกไปในที่อื่นๆ กว้างออกไป แต่ไมได้รวบรวมคนเหล่านี้มาอยู่ด้วย เพราะมันสิ้นยุคอาณานิคมแล้ว แต่คนเหล่านี้สวามิภักดิ์ได้เพราะว่ารู้สึกว่าพี่เบิ้มมันโคตรเท่ เป็นพวกดีกว่า ที่สำคัญมันไม่ใช่ชัยชนะที่ถาวร และเป็นสันติภาพอย่างแท้จริง” นักวิชาการชื่อดังกล่าวในที่สุด.