ฝูงบินพลีชีพกามิกาเซ่ (Kamikaze) |
ภิยะพรรณี วัฒนายากร |
|
|
หน้าที่ 1 |
บทนำ
กามิกาเซ่ หรือ Kamikaze เป็นภาษาญี่ปุ่น หมายถึงลมสวรรค์ หรือลมแห่งเทวะ และ หมายถึงลมสลาตันที่ขับไล่กองทัพเรือมองโกล ซึ่งเข้ามารุกรานญี่ปุ่นออกไปได้ ในปี ค.ศ. ๑๒๗๔ คำๆ น ี้ได้ถูกนำมาใช้เรียกอากาศยานพลีชีพของญี่ปุ่นในสงครามโลกครั้งที่ ๒ ซึ่ง บรรทุกระเบิดและพุ่งเข้าชนเรือ และคำนี้ยังหมายถึงนักบินผู้บังคับอากาศยานประเภทนี้ด้วย
คำว่ากามิกาเซ่ มาจากคำสองคำต่อกัน คือ kami หมายถึง พระเจ้า (god) และ kaze หมายถึงลม (wind) รวมกันมีความหมายว่าลมแห่งสวรรค์ หรือ divine wind ในภาษาอังกฤษ และยังหมายถึงลมสลาตัน (typhoon) ซึ่งช่วยให้ญี่ปุ่นรอดพ้นจากการรุกรานจากกองทัพ มอง โกลภายใต้การนำของกุบไลข่าน เมื่อปี ๑๒๗๔ อย่างไรก็ตาม คำว่า กามิกาเซ่ในภาษาญี่ปุ่น ถูกนำมาใช้เรียกลมสลาตัน และนำมาใช้เป็นชื่อฝูงบินและนักบินกามิกาเซ่เท่านั้น ต่างไปจาก ในภาษาอังกฤษ ที่ชาวตะวันตกนำคำๆ นี้มาใช้เรียกการโจมตีแบบพลีชีพ (suicide attacks) ในหลายรูปแบบอย่างกว้างขวาง นับตั้งแต่สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ ๒ เป็นต้นมา เช่น Selb stopfer ของนาซีเยอรมัน ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ กลุ่มก่อการร้ายพลีชีพ ซึ่งจี้เครื่องบิน ถล่มสถานที่สำคัญของสหรัฐ ฯ เมื่อวันที่ ๑๑ กันยายน ค.ศ. ๒๐๐๑ และ มือระเบิดพลีชีพชาว ปาเลสไตน์ซึ่งโจมตีชาวอิสราเอลเป็นต้นโดยมีที่มาจากลักษณะการโจมตีแบบพลีชีพของฝูงบิน กามิกาเซ่ ของญี่ปุ่นดังกล่าว
ปฏิบัติการของฝูงบินกามิกาเซ่ นับได้ว่าเป็นการรบทางอากาศที่มีอิทธิพลและเป็นที่รู้
จัก มากกว่าการรบทางอากาศรูปแบบอื่น ๆ ของญี่ปุ่นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ กามิกาเซ่
ใช้ นักบินรวมไปถึงทหารบนเครื่องถือวัตถุระเบิดและลูกเรือ หน่วยทหารที่รับผิดชอบในเรื่องนี้ มีชื่อเรียกเป็นภาษาญี่ปุ่นว่า "โทคูเบตสุ โคกิคิ ไท"แปลว่าหน่วยโจมตีพิเศษ(Special Attack
Unit) ญี่ปุ่นใช้ยุทธวิธีพลีชีพด้วยฝูงบินกามิกาเซ่นี้เป็นอย่างมาก ในช่วงที่กองทัพญี่ปุ่นบุกฟิลิป
ปินส์ในปี ค.ศ. ๑๙๔๔ และเพื่อหยุดยั้งการบุกของกองทัพเรือฝ่ายสัมพันธมิตร และที่เมือง
โอกินาวา ในช่วงปี ค.ศ. ๑๙๔๖ นับจากนั้นยุทธวิธีพลีชีพกามิกาเซ่ก็ยังคงดำเนิน อยู่ต่อไปจน กระทั่งสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ ๒ การพลีชีพของนักบินกามิกาเซ่ถือเป็นการตายอย่าง มี เกียรติ เพื่อองค์จักรพรรดิและประเทศของพวกเขา ตลอดช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ นักบินกามิ ิกาเซ่ มากกว่า ๓๐๐ คน ได้สร้างความเสียหายอย่างมหาศาลให้แก่กองทัพเรือสหรัฐ ฯ
กำเนิดของฝูงบินพลีชีพกามิกาเซ่
กำเนิดของหน่วยกามิกาเซ่ หน่วยแรก เริ่มต้นเมื่อ นาวาโท อะไซกิ ทาไม อาจารย์สอน การบินทหารเรือ ได้สอบถามนักเรียนการบินที่มีพรสวรรค์ของเขาว่ามีใครสนใจจะเข้าร่วม ใน กองกำลังโจมตีพิเศษ (Special Attack Force) บ้าง นักเรียนทั้งหมดตกลงที่จะเข้าร่วมการ ปฏิบัติการครั้งนี้ หลังจากนั้น นาวาโท ทาไม ขอให้ เรือโท เซกิ ยูคิโอะ เป็นผู้บังคับกองกำลัง พิเศษนี้ เซกิหลบตาลงต่ำและครุ่นคิดอยู่ประมาณ ๑๐ วินาที จึงกล่าวต่อ นาวาโททาไมว่า "โปรด ให้ผมได้ทำหน้าที่นี้ด้วย" เรือโท เซกิ นับเป็นนักบินพลีชีพกามิกาเซ่ลำดับที่๒๔ ที่ได้ รับการคัดเลือกให้เข้าร่วมหน่วย
หน่วยโจมตีพิเศษกามิกาเซ่นี้ มี ๔ หน่วยย่อย คือหน่วยชิคิชิมา (Shikishima), หน่วย ยามาโตะ (Yamato), หน่วยอาซาฮิ (Asahi) และ หน่วยยามาซาคูรา (Yamazakura)ชื่อของ หน่วยย่อยเหล่านี้ นำมาจากบทกวีเกี่ยวกับความรักชาติ ซึ่งประพันธ์ โดยนักปราชญ์ยุคคลาสสิก ของญี่ปุ่น ชื่อ โมโตริ โนรินากะ บทกวีบทดังกล่าวมีใจความดังนี้ :
"If someone asks about the Yamato (Japanese) spirit of Shikishima (Japan), It is the flowers of yamazakura (mountain cherry blossom) that are fragrant in the Asahi (rising sun)."
"หากผู้ใดเอ่ยถามถึงจิตวิญญาณแห่งชาวญี่ปุ่นนั่นคือมวลบุปผาแห่งภูเขายามาซากุระ(ภูเขา
แห่ง ดอกเชอรี่บาน) ซึ่งส่งกลิ่นหอมหวานในยามรุ่งอรุณ"
การโจมตีครั้งแรกของฝูงบินกามิกาเซ่
มีแหล่งข้อมูลอย่างน้อย ๑ แหล่ง อ้างถึงการโจมตีครั้งแรกของฝูงบินกามิกาเซ่ในสง
ครามโลกครั้งที่ ๒ ว่า คือการโจมตี เรือรบสหรัฐ ฯ สองลำ ชื่อ เรือ USS Indiana และ USS Reno เมื่อกลางปี ๑๙๔๔ (ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้จากเว็บไซด์ http://www. ww2pacific. com/ suicide. html) แต่อย่างไรก็ตาม มีหลักฐานเพียงน้อยนิดที่สนับสนุนว่าการพุ่งชนเรือ รบสหรัฐ ฯ ของเครื่องบินญี่ปุ่นครั้งนี้ เป็นการจงใจและติดระเบิดมากับเครื่องบินไม่ใช่อุบัติเหตุ จากการรบซึ่งมักจะเกิดขึ้นเสมอในสงครามระหว่างเรือและเครื่องบินรบ (เครื่องบินรบถูกปืน เรือยิง หรือเสียการทรงตัว ตกใส่ตัวเรือและเกิดการลุกไหม้เป็นต้น)